ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรยาวไกลทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในปี พ.ศ. 2503 ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ในปี พ.ศ. 2504 ทรงให้นำพรรณไม้จากภูมิภาคต่างๆ มาปลูกใว้ในสวนจิตรลดาเพื่อเป็นแหล่งศึกษา และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การอนุรักษ์และพัฒนาดินอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตรราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้สทบทอดปณิธานต่อ โดยมีพระราชดำริกับนายขวัญแก้ว วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ โดยพระราชทานโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ได้เริ่มดำเนินการ โดยฝ่ายวิชาการ สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับงบประมาณดำเนินงานั้สำนักงานคฯะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตรราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณ ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 สำหรับการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ สนันสนุนงบประมมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมตามกรอบของแผนแม่บทของ อพ.สธ. จนกระทั้งปี พ.ศ. 2551 อพ.สธ. จึงได้รับงบประมาณจาก สำนักพระราชวังเพื่อนเดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของ อพ.สธ. ตามกรอบแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่หา้า(ตุลาคม พ.ศ. 2549 - กันยายน พ.ศ. 2554) ในฐานะหน่วยงานหนึ่งของสำนักพระราชวัง และให้ อพ.สธ. ดำเนินการแยกจากโครางการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
มหาวิทยาลัยพายัพ ได้รับพระราชทานพระอณุญาติให้เข้าร่วมโครงการ อพ.สธ. โดยเป็นหนึ่งในหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริฯ (G5-กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ร่วมสนองพระราชดำริ)ในปี พ.ศ. 2555 ภายใต้กรอบแม่บทระยะ 5ปีที่ห้า(ตุลาคม พ.ศ. 2559 - กันยายน พ.ศ. 2564) ซึ่ง มหาวิทยาลัย ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อนสนับสนุนโครงการฯ ให้เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ